- ถาม-ตอบ
ถาม-ตอบ
โรคริดสีดวงทวารหนักเป็นได้ทุกคนหรือเปล่า
โรคริดสีดวงทวารหนักสามารถเกิดได้กับทุกคน แต่บางคนเป็นระยะแรกๆ สามารถหายได้เอง บางคนเป็นแล้วไม่ได้รับการรักษา อาการอาจกำเริบจนเป็นระยะที่รุนแรงได้ครับ
คนที่เป็นโรคริดสีดวงทวาร แล้วถ้าไม่รักษาจะเป็นอะไรไหม
ริดสีดวง รักษา โรคริดสีดวง ส่วนใหญ่ถ้าไม่กระทบกับชีวิตประจำวันก็ไม่น่าเป็นอะไรมากครับ ถ้าอายุน้อย หรือตัวโรคไม่ได้รุนแรงมาก อาจไม่เป็นอะไรมากครับ แต่ถ้าเราอายุมากขึ้นความเสื่อมของเซลล์หรือระบบหลอดเลือดบริเวณทวารหนัก ร่วมกับการปนเปื้อนเชื้อโรค เชื้อแบคทีเรียที่ปนเปื้อนมากับอุจจาระบ่อยๆ เข้า อาจกลายเป็นโรคร้ายที่เราไม่พึงปรารถนา นั่นก็คือ โรคมะเร็งครับ ถ้ารักษาให้หายขาดก่อนช่วยลดโอกาสเป็นโรคแทรกซ้อนอย่างอื่นได้ครับ
โรคอะไรบ้างครับที่อาจเป็นตามมาจากการที่เป็นโรคริดสีดวงทวาร
โรคริดสีดวงทวารอาจมีโรคแทรกซ้อนได้หลายโรคครับ ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกาย อายุคน อายุโรคด้วยคับ รวมถึงโรคประจำตัวต่างๆ ของคนคนนั้นด้วยครับ สำหรับโรคที่พบได้บ่อยๆ คือ
1. โรคโลหิตจาง เป็นโรคที่พบได้บ่อย บางรายตัวซีด ผอม ภาษาชาวบ้านเค้าเรียกว่า โรคกิน เพราะผู้ป่วยบางรายเลือดออกอยู่เป็นประจำ แล้วไปซื้อยากินเอง เอายามาเหน็บมาสอด มันจะแค่บรรเทาครับ ไม่ใช่การรักษา เดี๋ยวเลือดก็ออกมาอีกได้ เพราะยาประเภทนี้ทำให้ผนังบริเวณทวารหนักและผนังหลอดเลือดบางตัว ง่ายต่อการแตกและเลือดออกจากเสียดสีของอุจจาระแข็งๆ ซึ่งการใช้ยาลักษณะนี้อาจเป็นการเลี้ยงไข้ตัวเราเองโดยไม่รู้ตัว
2 .โรคที่มาจากการติดเชื้อบริเวณทวารหนัก เพราะทวารหนักเป็นที่ขับถ่ายของเสีย เป็นที่ที่มีเชื้อโรคหลากหลายชนิด ถ้าคนที่มีแผล มีเลือดออก ซึ่งเป็นการเปิดประตูให้เชื้อโรคลุกลามได้ง่ายขึ้น อาจเป็นการอักเสบหรือติดเชื้อขั้นรุนแรงได้
3 .โรควิตกจริต ซึ่งโดยส่วยใหญ่ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ มักจะทราบดีถึงอาการของตัวเอง อาหารที่ตัวเองอยากกินก็ไม่ได้กิน อาหารอร่อยๆ ก็ไม่ได้กิน บางครั้งไม่กล้ากินมาก กลัวขับถ่ายออกมาก กลัวจะไปกระทบกับตัวโรค ขณะขับถ่ายกลัวจะเจ็บปวดมาก บางคนเกลียดห้องน้ำมากเห็นชักโครกเหมือนเป็นเครื่องทรมาน ไม่กล้าเข้าห้องน้ำ กลัวเจ็บปวด กลัวตัวโรคขยายใหญ่ออกมาแล้วกลับไม่ได้ กลัวเลือดออก กลัวเกิดแผล กลัวไปทุกๆ อย่าง จนสภาพจิตใจย่ำแย่ และที่สำคัญคือ กลัวคนอื่นรู้ว่าตัวเองเป็นโรคนี้ ไม่กล้าบอกใคร คุยกับใครก็ไม่ได้เพราะเป็นโรคปิด นานเข้ากลายเป็นวิตกจริตไป
4. โรคที่ไม่มีใครอยากจะเป็น คือ โรค มะเร็ง ถ้าอายุตัวโรคเป็นมาระยะเวลานาน อายุคนมากขึ้น เซลล์ผิดปกติไปกลายสภาพไป มีการติดเชื้อแทรกซ้อนอยู่บ่อยๆ ก็อาจกลายเป็นเนื้อร้ายได้
ไม่มีใครกล้ารับประกันเราได้ว่าเราจะไม่เป็นมะเร็ง เพราะฉะนั้นรีบรักษาก่อน ก็จะลดปัจจัยเสี่ยงจากการเป็นโรคร้ายลงได้
อาหาร การกิน เกี่ยวกับริดสีดวงหรือไม่
ก่อนอื่นต้องแยกคำว่าอาหารออกมาก่อน เพราะอาหารเป็นประเภทหรือชนิด มีหลากหลายมาก ก็มาเกี่ยวโยงกับคำว่าการกิน การกินคือพฤติกรรม แน่นอนครับว่าเกี่ยวโยงกัน เพราะการเป็นโรคริดสีดวงนี้มาจากการกิน พฤติกรรมการกิน ซึ่งขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละคน ยกตัวอย่าง อาหาร A นาย ก กินแล้ว เวลาขับถ่ายไม่เป็นอะไร ปกติดี แต่นาย ข กินอาหารประเภทเดียวกันเข้าไปแล้วทำให้เวลาขับถ่ายแล้วถ่ายลำบาก หรืออาจมีเลือดปนออกมาขณะขับถ่าย นี่เข้าข่ายเป็นอาหารแสลงกับตัวโรค นาย ข มีโอกาสเป็นริดสีดวงได้
ส่วนใหญ่โรคริดสีดวงจะสัมพันธ์กับอาหาร การกิน โดยเฉพาะ อาหารแสลง เช่น ของหมักดอง ส้มตำปูปลาร้า เนื้อสัตว์ต่าง ๆ อาหารทะเล เหล้า - เบียร์ ฯลฯ โดยอาหารเหล่านี้จะทำให้โรคริดสีดวงมีอาการกำเริบได้ง่าย
ริดสีดวงรักษาหายขาดได้จริงหรือ
รักษาหายขาดได้จริงครับ ถ้าผู้ป่วยได้รับการตรวจและวินิจฉัยโรคได้ถูกต้อง ใช้ยาถูกประเภทกับตัวโรค ก็สามารถหายขาดได้ครับ....ปล่อยไว้ลุกลามเป็นอาการโรคอื่น ๆแทรก.... จะเข้าข่าย..... เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่ายครับ ... รักษาก่อน หายก่อน รักษาเร็ว หายเร็วครับ
ขับถ่ายเป็นปกติทุกวัน ไม่มีอาการท้องผูก ทานผักเยอะ ดื่มน้ำเยอะ ออกกำลังกายเป็นประจำ นอนพักผ่อนเพียงพอ เป็นริดสีดวงได้หรือไม่
เป็นริดสีดวงทวารได้ครับ โรคริดสีดวงทวารหนัก เป็นได้ทุกเพศ ทุกวัยครับ มนุษย์ในโลกใบนี้มีโอกาสเป็นกันทุกคนครับ ไม่ว่าเราจะขับถ่ายเป็นปกติทุกวัน ไม่มีอาการท้องผูก ทานผักเยอะ ดื่มน้ำเยอะ ออกกำลังกายเป็นประจำ นอนพักผ่อนเพียงพอก็ตาม สรุปเหตุผลคือ มนุษย์ทุกคนต้องขับถ่ายนั่นเองครับ
1. การขับถ่ายทุก ๆ ครั้งนั้นมีการเบ่ง ไม่มีใครไม่เคยเบ่งถ่ายหรอกครับ การเบ่งย่อมมีแรงดันเกิดขึ้น เมื่อมีแรงดันก็มีการโป่งพองขึ้นตรงส่วนปลายของผนังทวารหนัก เลือดไหลมาคั่งตรงส่วนปลายมากขึ้น ผนังทวารหนักมีการยืดตัวออกมากขึ้น
2. การขับถ่ายมีการเสียดสีของหัวอุจจาระ เพราะตรงบริเวณลำไส้ตรง ส่วนสุดท้ายจะมีการดูดกลับน้ำค่อนข้างมาก ทำให้ส่วนหัวของอุจจาระที่จ่อปากทวารแข็งมากยิ่งขึ้น การแข็งของหัวอุจจาระจะเพิ่มแรงเสียดสีตรงเยื่อบุอ่อน ๆ ตรงปากทวาร เกิดการอักเสบขึ้นได้ง่าย
3. การนั่งห้องน้ำนาน ๆ มีแรงโน้มถ่วง กล้ามเนื้อปากทวารหนักยืดตัวมาก เลือดไปคั่งส่วนปลายมากขึ้น
4. ระบบไหลเวียนเลือดตรงบริเวณทวารไม่ดี ไม่ไหลกลับมีการอุดตันของหลอดเลือดดำเฉพาะที่ตรงส่วนปลายของทวารหนัก
5. ความผิดปกติของตัวเซลล์กล้ามเนื้อหรือเซลล์ผิวหนังหรือหลอดเลือดบริเวณผนังทวารหนักเอง
เราลองนึกย้อนไปครับว่าเราแสบก้นขณะขับถ่ายครั้งสุดท้ายเมื่อใด....????
โรคริดสีดวงทวารหนักสามารถเกิดได้กับทุกคน แต่บางคนเป็นระยะแรกๆ สามารถหายได้เอง บางคนเป็นแล้วไม่ได้รับการรักษา อาการอาจกำเริบจนเป็นระยะที่รุนแรงได้ครับ
ริดสีดวง รักษา โรคริดสีดวง ส่วนใหญ่ถ้าไม่กระทบกับชีวิตประจำวันก็ไม่น่าเป็นอะไรมากครับ ถ้าอายุน้อย หรือตัวโรคไม่ได้รุนแรงมาก อาจไม่เป็นอะไรมากครับ แต่ถ้าเราอายุมากขึ้นความเสื่อมของเซลล์หรือระบบหลอดเลือดบริเวณทวารหนัก ร่วมกับการปนเปื้อนเชื้อโรค เชื้อแบคทีเรียที่ปนเปื้อนมากับอุจจาระบ่อยๆ เข้า อาจกลายเป็นโรคร้ายที่เราไม่พึงปรารถนา นั่นก็คือ โรคมะเร็งครับ ถ้ารักษาให้หายขาดก่อนช่วยลดโอกาสเป็นโรคแทรกซ้อนอย่างอื่นได้ครับ
โรคริดสีดวงทวารอาจมีโรคแทรกซ้อนได้หลายโรคครับ ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกาย อายุคน อายุโรคด้วยคับ รวมถึงโรคประจำตัวต่างๆ ของคนคนนั้นด้วยครับ สำหรับโรคที่พบได้บ่อยๆ คือ
1. โรคโลหิตจาง เป็นโรคที่พบได้บ่อย บางรายตัวซีด ผอม ภาษาชาวบ้านเค้าเรียกว่า โรคกิน เพราะผู้ป่วยบางรายเลือดออกอยู่เป็นประจำ แล้วไปซื้อยากินเอง เอายามาเหน็บมาสอด มันจะแค่บรรเทาครับ ไม่ใช่การรักษา เดี๋ยวเลือดก็ออกมาอีกได้ เพราะยาประเภทนี้ทำให้ผนังบริเวณทวารหนักและผนังหลอดเลือดบางตัว ง่ายต่อการแตกและเลือดออกจากเสียดสีของอุจจาระแข็งๆ ซึ่งการใช้ยาลักษณะนี้อาจเป็นการเลี้ยงไข้ตัวเราเองโดยไม่รู้ตัว
2 .โรคที่มาจากการติดเชื้อบริเวณทวารหนัก เพราะทวารหนักเป็นที่ขับถ่ายของเสีย เป็นที่ที่มีเชื้อโรคหลากหลายชนิด ถ้าคนที่มีแผล มีเลือดออก ซึ่งเป็นการเปิดประตูให้เชื้อโรคลุกลามได้ง่ายขึ้น อาจเป็นการอักเสบหรือติดเชื้อขั้นรุนแรงได้
3 .โรควิตกจริต ซึ่งโดยส่วยใหญ่ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ มักจะทราบดีถึงอาการของตัวเอง อาหารที่ตัวเองอยากกินก็ไม่ได้กิน อาหารอร่อยๆ ก็ไม่ได้กิน บางครั้งไม่กล้ากินมาก กลัวขับถ่ายออกมาก กลัวจะไปกระทบกับตัวโรค ขณะขับถ่ายกลัวจะเจ็บปวดมาก บางคนเกลียดห้องน้ำมากเห็นชักโครกเหมือนเป็นเครื่องทรมาน ไม่กล้าเข้าห้องน้ำ กลัวเจ็บปวด กลัวตัวโรคขยายใหญ่ออกมาแล้วกลับไม่ได้ กลัวเลือดออก กลัวเกิดแผล กลัวไปทุกๆ อย่าง จนสภาพจิตใจย่ำแย่ และที่สำคัญคือ กลัวคนอื่นรู้ว่าตัวเองเป็นโรคนี้ ไม่กล้าบอกใคร คุยกับใครก็ไม่ได้เพราะเป็นโรคปิด นานเข้ากลายเป็นวิตกจริตไป
4. โรคที่ไม่มีใครอยากจะเป็น คือ โรค มะเร็ง ถ้าอายุตัวโรคเป็นมาระยะเวลานาน อายุคนมากขึ้น เซลล์ผิดปกติไปกลายสภาพไป มีการติดเชื้อแทรกซ้อนอยู่บ่อยๆ ก็อาจกลายเป็นเนื้อร้ายได้
ไม่มีใครกล้ารับประกันเราได้ว่าเราจะไม่เป็นมะเร็ง เพราะฉะนั้นรีบรักษาก่อน ก็จะลดปัจจัยเสี่ยงจากการเป็นโรคร้ายลงได้
ก่อนอื่นต้องแยกคำว่าอาหารออกมาก่อน เพราะอาหารเป็นประเภทหรือชนิด มีหลากหลายมาก ก็มาเกี่ยวโยงกับคำว่าการกิน การกินคือพฤติกรรม แน่นอนครับว่าเกี่ยวโยงกัน เพราะการเป็นโรคริดสีดวงนี้มาจากการกิน พฤติกรรมการกิน ซึ่งขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละคน ยกตัวอย่าง อาหาร A นาย ก กินแล้ว เวลาขับถ่ายไม่เป็นอะไร ปกติดี แต่นาย ข กินอาหารประเภทเดียวกันเข้าไปแล้วทำให้เวลาขับถ่ายแล้วถ่ายลำบาก หรืออาจมีเลือดปนออกมาขณะขับถ่าย นี่เข้าข่ายเป็นอาหารแสลงกับตัวโรค นาย ข มีโอกาสเป็นริดสีดวงได้
ส่วนใหญ่โรคริดสีดวงจะสัมพันธ์กับอาหาร การกิน โดยเฉพาะ อาหารแสลง เช่น ของหมักดอง ส้มตำปูปลาร้า เนื้อสัตว์ต่าง ๆ อาหารทะเล เหล้า - เบียร์ ฯลฯ โดยอาหารเหล่านี้จะทำให้โรคริดสีดวงมีอาการกำเริบได้ง่าย
รักษาหายขาดได้จริงครับ ถ้าผู้ป่วยได้รับการตรวจและวินิจฉัยโรคได้ถูกต้อง ใช้ยาถูกประเภทกับตัวโรค ก็สามารถหายขาดได้ครับ....ปล่อยไว้ลุกลามเป็นอาการโรคอื่น ๆแทรก.... จะเข้าข่าย..... เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่ายครับ ... รักษาก่อน หายก่อน รักษาเร็ว หายเร็วครับ
เป็นริดสีดวงทวารได้ครับ โรคริดสีดวงทวารหนัก เป็นได้ทุกเพศ ทุกวัยครับ มนุษย์ในโลกใบนี้มีโอกาสเป็นกันทุกคนครับ ไม่ว่าเราจะขับถ่ายเป็นปกติทุกวัน ไม่มีอาการท้องผูก ทานผักเยอะ ดื่มน้ำเยอะ ออกกำลังกายเป็นประจำ นอนพักผ่อนเพียงพอก็ตาม สรุปเหตุผลคือ มนุษย์ทุกคนต้องขับถ่ายนั่นเองครับ
1. การขับถ่ายทุก ๆ ครั้งนั้นมีการเบ่ง ไม่มีใครไม่เคยเบ่งถ่ายหรอกครับ การเบ่งย่อมมีแรงดันเกิดขึ้น เมื่อมีแรงดันก็มีการโป่งพองขึ้นตรงส่วนปลายของผนังทวารหนัก เลือดไหลมาคั่งตรงส่วนปลายมากขึ้น ผนังทวารหนักมีการยืดตัวออกมากขึ้น
2. การขับถ่ายมีการเสียดสีของหัวอุจจาระ เพราะตรงบริเวณลำไส้ตรง ส่วนสุดท้ายจะมีการดูดกลับน้ำค่อนข้างมาก ทำให้ส่วนหัวของอุจจาระที่จ่อปากทวารแข็งมากยิ่งขึ้น การแข็งของหัวอุจจาระจะเพิ่มแรงเสียดสีตรงเยื่อบุอ่อน ๆ ตรงปากทวาร เกิดการอักเสบขึ้นได้ง่าย
3. การนั่งห้องน้ำนาน ๆ มีแรงโน้มถ่วง กล้ามเนื้อปากทวารหนักยืดตัวมาก เลือดไปคั่งส่วนปลายมากขึ้น
4. ระบบไหลเวียนเลือดตรงบริเวณทวารไม่ดี ไม่ไหลกลับมีการอุดตันของหลอดเลือดดำเฉพาะที่ตรงส่วนปลายของทวารหนัก
5. ความผิดปกติของตัวเซลล์กล้ามเนื้อหรือเซลล์ผิวหนังหรือหลอดเลือดบริเวณผนังทวารหนักเอง
เราลองนึกย้อนไปครับว่าเราแสบก้นขณะขับถ่ายครั้งสุดท้ายเมื่อใด....????